Sunday, August 29, 2010

น้ำตก ตาดโตน

ท่องเที่ยวมุกดาหารน้ำตกตาดโตน อยู่ระหว่าง บ้านงิ้วกับบ้านโนนยาง บนถนน ขอนแก่น- มุกดาหาร ห่างจากถนนใหญ่ สี่ร้อย เมตร เมื่อถึงหน้าร้อนจะมีผู้คนทั้งอยู่ไกล้ไกล เข้าเยี่ยมชมน้ำตกไกล้ ธรรมชาติซึ่งไม่ไกลจากถนนมากนัก ในบริเวณน้ำตกจะมีร้านอาหารให้คนที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ คนส่วนมากจะมาที่นี่กันในหน้าแล้งของทุกปีเพื่อคลายร้อนกัน จึงไม่แปลกที่จะเห็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่แม้กระทั่งวัยไม้ไกล้ผั่ง เพราะบรรยากาศร่มรื่นความ เย็นสบาย แถมมีร้านขาย ของ คอยบริการ นับเป็นสวรรค์บนดินอย่างแท้จริง น้ำตกตาดโตน เป็นน้ำตกชั้นเดียว แต่แนวราบยาวและสวยงาม น้ำตกนี้มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาโดยรอบป่าสงวนแห่งชาติ โดยที่ภูเขาแต่ละลูกที่ติดต่อกันเป็นเทือกเขาภู ช่วยโอบอุ้มน้ำเอาไว้ในฤดูฝน แล้วค่อย ๆ ปล่อยระบายออกมาไหล รวมกันเป็นห้วย และไหลเปลี่ยนระดับต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนถึงน้ำตกตาดโตน ทางเข้าน้ำตกมี สินค้า พื้นบ้านไว้ขายสำหรับท่าน ที่ต้องการซื้อติดไม้ติดมือ น้ำตกตาดโตนอยู่ไกล้กับ ตำบลโนนยาง เดินทางสะดวกสบาย โดยเฉพาะผู้ที่ชอบแบบธรรมชาติ

Saturday, July 31, 2010

ภูผาเทิบ

ภูผาเทิบ หรือ กลุ่มหินเทิน เป็นส่วนหนึ่งของอทุยานแห่งชาติ จังหวัดมุกดาหาร  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามอีกที่ ซึ่งมีความหมายถึงภูผาที่มีหินมาเทิบทับกันไว้ มีกลุ่มหินประกอบด้วยหินรูปร่างลักษณะต่าง ๆ วางซ้อนกันอย่างวิจิตรพิศดารบนลานหินกว้างและยาวเป็นสวนหินเปรียบเสมือนประติมากรรม หินบางก้อนมีรูปร่างคล้ายเครื่องบินไอพ่น รอบเท้าบู้ท เก๋งจีน มงกุฎ บริเวณลานหินมีป่าเต็งรังที่มีลักษณะแคระแกรนสวยงาม ภูมิประเทศเป็นช่วงปลายสุดของทิวเขาภูผาขนานแนวเหนือ-ใต้ ห่างจากแม่น้ำโขงประมาณ 4 กิโลเมตร สภาพป่าก็โดดเด่น ผสมผสานกับป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบอุดมสมบูรณ์ ลักษณะทางธรณวิทยาของภูผาเทิม คือ กลุ่มหินทรายซ้อนทับกันจนเกิดประติมากรรมหินรูปร่างประหลาดสวยงามมาก ทั้งรูปหิน จระเข้ มงกุฎ เก็งจีน และจานบิน เป็นต้น หินทรงสวยเหล่านี้เกิดจากผลงานการกัดเซาะของแสงแดด ลม และฝนนานนับปี นอกจากนี้ยังมีถ้ำฝามือแดง ถ้ำพระ และถ้ำลอด ซึ่งปรากฎร่องรอยของภาพเขียนสี และถ้วยชามโบราณมากมาย ปฏิมากรรมธรรมชาติ หินภูผาเทิบ ประติมากรรมธรรมชาติแห่งหินผาน่าอัศจรรย์ กำเนิดมาจากการกัดกร่อน นานนับร้อยล้านปี มีรูปลักษณ์ ต่างๆถูผาแห่งงานศิลป์ชิ้นเอกใครจะเชื่อว่า ธรรมชาติสร้างให้ก้อนหินซ้อนทับกันได้อย่างวิจิตพิสดาร วันเวลาที่แนะนำท่องเที่ยว ภูผาเทิบสามารถ"ท่องเที่ยว"ได้ตลอดปี โดยเฉพาะช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคมอากาศจะเย็นสบายและตามลานหินจะมีดอกไม้สวยงามมากอีกทั้งแมลงสีสวยขึ้นอยู่มากมาย เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดมุกดาหารและอำเภอดอนตาล  ห่างจากตัวเมืองประมาณ 17 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางมุกดาหาร-ดอนตาล ทางหลวงหมายเลข 2034 แยกเข้าทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

ภูผาเทิบ ,ท่องเที่ยว,

Wednesday, July 14, 2010

ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง มุกดาหาร

ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง เ็ป็นจุดชมวิว ริมแม่น้ำโขง ติดกับท่าด่านตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดมุกดาหาร และตลาดอินโดจีน ศาลแห่งนี้เดิมเป็นศาลไม้ต่อมาได้มีการบูรณะเป็นศาลคอนกรีต ประวัติเล่ากันต่อมาว่ามีธิดาสองพี่น้องของเจ้าเมืองฝั่งลาวได้นั่งเรือข้ามมาจังหวัดมุกดาหารแล้วเกิดเรือล่มเสียชีวิตทั้งสองพระองค์ 
    ประวัติความเป็นมามีเรื่องเล่าขานกันมานานว่า ปี พ.ศ.1896 เจ้าฟ้างุ้ม แห่งเมืองล้านช้าง เป็นบุตรเขย กษัตริย์เมือง อินทะปัดได้พาลูกหลาน อพยพ ตามลำน้ำโขง ผ่านเมืองหนองคาย เมืองนครพนม จนถึงเขตเมืองมุกดาหาร แล้วเกิดเรือล่มที่บริเวณปากห้วยมุก ธิดาสาวทั้งสองคนซึ่งมีพระนามว่า พระนางพิมพา กับ พระนางลมพามา สิ้นชีพ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2313 เจ้ากินรีได้มาสร้างเมืองมุกดาหารพร้อมกับได้สร้างโบสถ์วัดศรีมงคลใต้ขึ้นและในขณะก่อสร้างได้พบพระเมาลีพระพุทธรูปเหล็กจมอยู่ใต้พื้นดิน (บริเวณศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องในปัจจุบัน) จึงขุดไปประดิษฐาน ณโบสถ์วัดศรีมงคลใต้ แต่พอรุ่งขึ้น พระพุทธรูปเหล็กองค์นั้น ก็กลับมาประดิษฐานอยู่ที่เดิมที่พบในครั้งแรกอีก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า พระหลุบเหล็ก ประกอบกับบริเวณดังกล่าวความเชื่อของคนเมืองมุกดาหาร ทุกวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 จะมีเสียงร่ำไห้ของ ผู้หญิงสองคนซึ่งเป็นเสียงของพระนางพิมพา กับ พระนาง ลมพามา และได้แสดงอภินิหารให้ปรากฏอยู่เนือง ๆ เจ้ากินรีเจ้าเมือง มุกดาหาร เป็นศาลคู่บ้านคู่เมือง ได้สืบทราบประวัติแห่งความเป็นมาจึงตั้งศาลขึ้น ณ ที่แห่งนั้น เพื่อให้วิญญาณได้สิงสถิต เมื่อ พ.ศ. 2315 และได้ขนานนามว่า เจ้าแม่สองนางพี่น้อง อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองมุกดาหาร

Friday, July 9, 2010

ท่องเที่ยวเมืองมุกดาหาร อาหารอร่อย ที่พักถูก

ค่ำแรกเริ่มต้นด้วยการตะลุยชิม "ตลาดราตรี" แหล่งรวมอาหารราคาสบายกระเป๋า ตลาดราตรีของมุกดาหารก็เหมือนกันกับตลาดเทศบาลจังหวัดอื่น ๆ เปิดขายตอนเย็น ๆ ห้าโมงเป็นต้นไป ตลาดก็ของแปลกมั้งไม่แปลกมั้งปนเปกันไปถ้าใครมาเที่ยวมุดาหารแล้วไม่ได้ชิมอาหารที่นี้ ก็คงเสียใจไปนาน เพราะอาหารที่นี่ อร่อย ไม่ว่าจะเป็นข้าวต้มเป็ด ต้มเลือดหมู  หรือว่าจะมากินปลาริมโขง  ลองท่องเที่ยวแล้วหาหาดูร้านอาหารตามริมโขงวิวสวยกินแบบธรรมชาติที่แปลกคือของที่นำมาจากเวียดนาม ลาว 




แต่ถ้าใครชอบอาหารเวียดนาม ข้าวคลุกแหนมแหนมเนืองราคาเริ่มต้น 30 บ.ผักเพียบขอบอกพริกเผ็ดมาก จะต้องบอกรสชาติที่ต้องการก่อนทำจะได้กะประมาณได้ถูก

ของกินที่นี่มีให้เลือกมากมายหลายอย่าง แต่ที่ดึงดูดใจเป็นพิเศษเห็นจะเป็นอาหารพื้นเมืองสัญชาติเวียดนาม ‘กวยจั๊บญวน’ร้านตุ๊กตา
ที่นี่เค้ามีให้เลือกอยู่ 2-3 เส้น ผมเลือกเส้นข้าวเปียกมาลอง ไม่ถึงสองนาทีกวยจั๊บญวนชามขนาดกำลังเหมาะก็มาวางแหมะอยู่ตรงหน้า น้ำข้นๆ ควันกรุ่นๆ เต็มไปด้วยหมูยอ เส้นข้าวเปียกเหนียวๆ นุ่มๆ รสชาติกลมกล่อมหอมกลิ่นพริกไทยไม่เสียแรงที่อุตส่าห์อดทนเดินรอโต๊ะอยู่นาน 


‘กวยจั๊บญวน’ถ้ามากินตอนเช้าก็จะดีก็จะมีชาลาเปาทอด ปลาท่องโก๋ น้ำชา
















บ้านระเบียงมุก โรงแรมเล็กแต่เก๋ สีเหลือง อยู่ตรงหัวโค้ง ก่อนถึงศาลาว่าการจังหวัดที่พัก สะอาด ใหม่มากๆ มีอินเตอร์เน็ต wifi มีระเบียงไม้น่ารักๆ ไว้นั่งเล่น ทุกห้อง ราคา 550 บาท
ภายในห้องสะอาดกว้างสวยงามสบายตาสะดวกคบคัน


ร้านกาแฟที่อร่อยที่สุดในมุกดาหารอยู่ติดริมโขง

Monday, July 5, 2010

สะพานมิตรภาพไทย - ลาว 2, มุกดาหาร


สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบกในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก  เชื่อมโยงจากทางตะวันออกคือ เมืองดานัง (เวียดนาม) ข้ามแม่น้ำโขงฝั่งลาวที่บริเวณบ้านนาแก เมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต และข้ามมาประเทศไทยที่บริเวณบ้านสงเปือย ตำบลบางทราย จังหวัดมุกดาหาร และผ่านไปยังฝั่งตะวันตกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่อำเภอแม่สอดและเมืองเมียวดี ก่อนไปสิ้นสุดที่เมืองมะละแหม่งของพม่ามีพิธีวางศิลาฤกษ์ ตัวสะพานมีความยาว 1,600 เมตร กว้าง 12 เมตร เป็นคอนกรีตอัดแรงเช่นเดียวกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 โครงสร้างเชิงลาดคอสะพานฝั่งไทยมีความยาว 250 เมตร และที่ฝั่ง สปป.ลาว มีความยาว 200 เมตร รวมความยาวทั้งสิ้น 2,050 เมตร กรรมสิทธิ์โครงการของแต่ละประเทศอยู่ที่จุดกึ่งกลางของสะพาน โครงการสะพานแห่งนี้ไม่เพียงเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่จะเชื่อมเส้นทางต่าง ๆ ตามแผนพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกเท่านั้น แต่จะช่วยเชื่อมโยงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เพิ่มโอกาสการเติบโตและพัฒนาทางเศรษฐกิจและการพาณิชย์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และเอื้ออำนวยให้แต่ละประเทศสามารถให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในทุก ๆ ด้าน บนพื้นฐานของความเป็นมิตรที่มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น จะสามารถได้ประโยชน์ด้านการเพิ่มโอกาสการพัฒนา และส่งเสริมการค้า การจ้างงาน การลงทุนและการท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวม นอกจากนั้น สะพานนี้จะเอื้ออำนายต่อการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับจีน

Saturday, July 3, 2010

ท่องเที่ยวเมืองมุกดาหาร

                                                      หอแก้วสูงเสียดฟ้า ภูผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีนเมืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครพนมมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2450 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2525  รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดมุกดาหารขึ้นเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่ 17 ของภาคอีสาน จังหวัดมุกดาหารอยู่ห่างกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ 624 กม. ตั้งอยู่ติดชายฝั่งแม่น้ำโขงตอนใต้ของจังหวัดนครพนม ตรงกันข้ามกับเมืองสำคัญทางตอนใต้ของประเทศลาว คือ สุวรรณเขต (หรือสวรรค์เขต)มุกดาหารจึงเป็นประตูด่านสำคัญสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน มีความสัมพันธ์ฉันท์บ้านพี่น้องกับแขวงสวันเขต สปป.ลาว มาช้านาน โดยมีแม่น้ำโขงซึ่งมีความยาวถึง 70 กิโลเมตร เป็นเส้นกั้นพรมแดน และมีความโดดเด่นในด้านชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆที่มีถึง 8 เผ่าได้แก่ เผ่าไทยอีสาน ภูไท ไทยข่า กระโซ่ ไทยย้อ ไทยกะเลิง ไทยแสกและไทยกุลา และยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามจังหวัดมุกดาหารไม่ค่อยจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพราะเหตุว่าเดิมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนครพนม จึงไม่ค่อยจะพบเรื่องราวที่บันทึกไว้ แต่ก็คงมีประวัติควบคู่มากับเมืองนครพนมและเมืองธาตุพนม จากศิลาจารึกวัดธาตุพนม 3 ลงศักราช พ.ศ.2349 (สมัยรัชกาลที่ 2)ตามประวัติของจังหวัดมุกดาหารกล่าวไว้ว่า เจ้ากินรีซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองเมืองโพนสิน (บริเวณธาตุอินฮัง แขวงสุวรรณเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) ได้อพยพผู้คนข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองใหม่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงบริเวณปากห้วยมุก เมื่อปี พ.ศ.2310 เหตุที่เลือกปากห้วยมุกนี้ เพราะนายพรานซึ่งอยู่ในปกครองของเจ้ากินรีได้ข้ามฝั่งโขงมาล่าสัตว์ และเมื่อถึงบริเวณปากห้วยมุกได้พบต้นตาลต้นหนึ่งมี 7 ยอด และพบกองอิฐปรักหักพังอยุ่ใต้ต้นตาลซึ่งสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ตั้งบ้าน เมืองมาก่อน นายพรานจึงนำความไปแจ้งเจ้ากินรี เมื่อเจ้ากินรีมาตรวจดู เห็นว่าเป็นทำเลเหมาะแก่การตั้งเมือง จึงอพยพผู้คนข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองที่บริเวณปากห้วยมุกและเมื่อตั้งเมือง ใหม่ ๆ นั้น ผู้คนได้เห็นแก้วดวงหนึ่งมีสีสดใสลอยออกมาจากต้นตาล 7 ยอดในตอนกลางคืน และลอยกลับมาที่ต้นตาลในตอนเช้ามืดแทบทุกวัน เจ้ากินรีจึงให้ชื่อแก้วดวงนั้นว่า แก้วมุกดาหาร และให้ชื่อเมืองว่า เมืองมุกดาหาร ตั้งแต่เดือน 4 ปีกุน พ.ศ.2313 เป็นต้นมาต่อมาในปี พ.ศ.2321 เมืองเวียงจันทน์ได้ยกทัพมาตีเมืองลุ่มบัวลำภู (อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานีปัจจุบัน) สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปช่วยเมืองลุ่มบัวลำภู เจ้าพระยาจักรียกทัพเรือมาตามลำน้ำโขง ปราบปรามเมืองนครจำปาศักดิ์และเวียงจันทน์ โดยได้ตีเอาเมืองน้อยใหญ่ตามลำน้ำโขง รวมทั้งเมืองมุกดาหารเข้ามาอยู่ในความปกครองของกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้ากินรีเป็น “พระยาจันทร์ศรีสุราชอุปราชามัณฑาตุราช” เจ้าเมืองมุกดาหารมีเจ้าเมืองสืบต่อกันมาจนถึง พ.ศ.2434 หลังจากการปราบกบฎฮ่อแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงให้จัดการปกครองแบบมณฑลขึ้นในภาคอีสาน เมืองมุกดาหารจึงถูกรวมเข้ากับมณฑลลาวพวน ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองหนองคาย โดยมีกรมหลวงปรจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงประจำมณฑล ต่อมามณฑลลาวพวนได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ ในปี พ.ศ.2442 แต่เมืองมุกดาหารได้แยกออกมารวมเข้ากับบริเวณธาตุพนม พ.ศ.2443 ได้เปลี่ยนชื่อมณฑลฝ่ายเหนือมาเป็นมณฑลอุดร แล้วยกเลิกการปกครองแบบบริเวณโดยให้เมืองมุกดาหารขึ้นกับมณฑลอุดร ต่อมาในปี พ.ศ.2450 เมืองมุกดาหารได้ถูกยุบลงเป็นอำเภอมุกดาหารขึ้นกับจังหวัดนครพนม


 สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว
หอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก   อยู่ในตัวเมืองมุกดาหารเป็นหอสูง ภายในมีห้องจัด แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองมุกดาหาร วิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรม ของชนเผ่าพื้นเมืองของชนสองฝั่งโขง ชั้นบนสุดเป็นหอพระประดิษฐานพระพุทธรูปนวมิ่งมงคลมุกดาหารและสามารถชมทัศนียภาพรอบตัวเมือง แม่น้ำโขงและฝั่งลาวได้


แก่งกะเบา 


เป็นแก่งหินยาวเหยียดตามลำน้ำโขง บนฝั่งก็ยังมีลานหินกว้างใหญ่เป็นที่พักผ่อนได้อย่างดี


ตลาดอินโดจีน



วัดสองคอน 



สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขีเป็นโบสถ์คริสต์สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมสถาปนิกสยาม   มีหุ่นขี้ผึ้งของนักบุญราศรีทั้งเจ็ด บริเวณกว้างขวางและมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง


อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร



หรือภูผาเทิบ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล   ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทราย ประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกัน แบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน ภายในประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภูจอมนาง ภูหมากมี่ ภูผาเทิบ ภูนางหงส์ ภูถ้ำพระ ภูหลักเสและยอดเขาสูงสุดคือ ยอดภูจอมศรี สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรัง และป่าเบญจพรรณ และยังเป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย
หอยสมัยหิน 
มีลักษณะคล้ายหอยสังข์จำนวนมาก ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ 40 ฟุต พบที่โคกหินแดง บ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณีโดยนำหอยไปวัดความหนาแน่นแล้วทำให้ทราบว่า เปลือกโลกบริเวณนี้มีอายุประมาณ 27 ล้านปี ซึ่งขุดพบเป็นแห่งที่ 3 ของโลก บริเวณที่พบเปลือกหอยนี้ ปรากฏว่าเป็นชั้นหินปูนหนาประมาณ 1 ฟุต
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว 
เป็นอุทยานที่มีพื้นที่อยู่บนแนวรอยต่อ 3 จังหวัด คือ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์มาก มีความงามทางธรรมชาติให้สัมผัสหลายแบบ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่หลายแห่งมีลานหินขนาดใหญ่ เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งกระจายอยู่ตามเทือกเขา
ภูสระดอกบัว 
ที่ยอดภูสระดอกบัวมีแอ่งหินกว้าง มีน้ำขังตลอดปี มีบัวพันธุ์ต่างๆ ขนาดเล็ก ขึ้นอยู่เต็มสระ
ภูผาแตก 
หรือชื่อทางยุทธศาสตร์ว่า "เนิน 428" ที่นี่มีจุดชมวิวมีองค์ประกอบทางธรรมชาติสวยงาม ทางด้านทิศเหนือสามารถมองเห็นทิวเขา ของอุทยานแห่งชาติมุกดาหารในระยะไกลได้ 
ลานหินและป่าเต็งรังแคระ 
เป็นลานหินยาวและใหญ่ สลับกับป่าเต็งรังแคระ บางแห่งเป็นป่าเต็งรังสลับกับป่าหญ้าเพ็ก 
กลองมโหระทึก 
เป็นกลองสัมฤทธิ์หน้าเดียว เส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 90 เซนติเมตร หน้ากลองเป็นรูปตะวันนูน มีแฉก 14 แฉก มีรูปกบติดขอบกลองจำนวน 4 ตัว กลองดังกล่าวเชื่อว่าอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี และเป็นกลองที่พวกข่าและขอมโบราณชอบเก็บสะสมไว้ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2481 ที่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำโขงที่น้ำเซาะพังตรงบ้านนาทาม เก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล อำเภอดอนตาล แต่ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่วัดมัชฌิมาวาส
วัดพุทธโธธัมมะธะโร 
ตั้งอยู่ที่บ้านชัยมงคล อำเภอนิคมคำสร้อย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีธรรมจักรเปล่งรัศมีอยู่ด้านบนมีความอ่อนช้อยสวยงาม สามารถมองเห็นได้แต่ไกล บริเวณวัดเป็นหินดานธรรมชาติ
น้ำตกตาดโตน 
มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวมุกดาหารและชาวจังหวัดใกล้เคียง